เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

8. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ดับไป
9. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม 90 ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม 10 ประการ

[360] ธรรม 10 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 10 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 10 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 10 ประการที่ควรละ
ธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 10 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 10 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 10 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 10 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 10 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 10 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ นาถกรณธรรม1 (ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) 10 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้เป็นนาถ-
กรณธรรม

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 345 หน้า 359-361 ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) 24/17/31-33

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :427 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 10 ประการ

2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ
แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
3. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
4. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟัง
คำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงาน
สูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกัน
ทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงาน
ต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ
มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็น
ที่พอใจ มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
7. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่
จะได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :428 }